เซ็นรับรองให้ดี ๆ ก่อนมีหนี้ไม่รู้ตัว
เดี๋ยว นี้ไม่ว่าจะทำธุรกรรมอะไรก็ตามที่ต้องใช้เอกสารสำคัญ ๆ เรามักจะต้องเซ็นชื่อกำกับฝไว้ด้วยทุกครั้ง แต่คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่า บางคนก็จะมีการเซ็นกำกับต่อว่าใช้เพื่อทำอะไร ในขณะที่บางคนก็เพียงแค่เซ็นรับรองความถูกต้องเฉย ๆ
เท่านั้นยังไม่พอ มีบางคนลงวันที่กำกับด้วย แล้วคุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าเราทำอย่างนั้นไปเพื่ออะไร และต้องทำแบบไหนถึงจะถูกต้องที่สุด ?
เพราะ เดี๋ยวนี้นั้นขโมยขโจรมากมายเหลือเกิน แถมยังคิดค้นวิธีสารพัด สารพันมาหลอกลวงเราอีกต่างหาก เรียกได้ว่าโจรเดี๋ยวนี้นั้นพัฒนากลโกงได้รวดเร็วจนเราแทบจะตามไม่ทันกันเลย ทีเดียว และสิ่งหนึ่งที่ดูจะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลาย ๆ คนอาจจะละเลยไปนั่นก็คือ เหล่าบรรดาสำเนาเอกสารสำคัญต่าง ๆ
ซึ่ง คุณทราบหรือไม่ว่าเหล่ามิจฉาชีพอาจจะใช้สำเนาเอกสารเหล่านี้ไปสร้างหนี้ก้อน โตให้คุณได้โดยที่มันได้เงินไปแถมยังหายหน้าไปพร้อมกับความสุขอุรา ในขณะที่คนที่นั่งน้ำตาตกก็อาจจะเป็นคุณที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็ได้
ซึ่ง การเซ็นชื่อกำกับสำเนาเอกสารนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันไม่ให้มีการนำเอาเอกสารของเราไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ ที่เราไม่ทราบเรื่องด้วย และวิธีการที่ถูกต้องในการเซ็นชื่อรับรองก็คือ
ต้องเขียนชื่อ นามสกุล รับรองสำเนาถูกต้อง ระบุวัตถุประสงค์ที่จะใช้ เช่น เพื่อสมัครงาน เพื่อทำเรื่องไปศึกษาต่อ หรือเพื่อกูยืมเงินจากที่ไหน เป็นต้น นอกจากนี้อย่าลืมระบุวันที่ที่ใช้ด้วย
และที่ลืมไม่ได้ก็คือ ให้เซ็นตรงส่วนที่เป็นรายละเอียดส่วนใหญ่ หรือตรงบัตรประชาชนด้านบนนั่นเอง หรือไม่อย่างนั้นในขณะที่ถ่ายเอกสารก็อาจจะให้ทางร้านวางถ่ายเอกสารให้ด้านบนกับด้านล่างชิดกันมากขึ้นหน่อยอย่าให้ห่างกันมากตนเกินไป เพื่อจะได้เซ็นได้ครอบคลุมเกือบทั้งหมด
ทราบแล้วคราวหน้าก็เซ็นให้ถูกต้องนะคะ เพราะบางครั้งแค่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านี้ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่หลวงได้ในอนาคตได้ค่ะ
ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/251345
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตัวเลขแต่ละหลักมีความหมายในตัวมันเอง
ปรับปรุงล่าสุด : 12 ก.พ. 2562 / เข้าชม 53896 ครั้ง
กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันฉบับสั้น ๆ ย่อ ๆ
ปรับปรุงล่าสุด : 22 ก.ค. 2557 / เข้าชม 61984 ครั้ง
การบริการประชาชน บนความประทับใจ
ปรับปรุงล่าสุด : 22 ก.ค. 2557 / เข้าชม 5187 ครั้ง
รัฐไทยก็เหมือนรัฐอธิปไตยอื่นๆ ย่อมต้องมีหน้าที่รับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายให้แก่บุคคลธรรมดาที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาในประเทศไทย
ปรับปรุงล่าสุด : 22 ก.ค. 2557 / เข้าชม 30411 ครั้ง
บันทึกว่า "ท่านฝันอยากใช้ประโยชน์จากบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดอย่างไรบ้าง?" และใส่คำสำคัญ (Keyword) ของบันทึกว่า "บัตรประชาชน"
ปรับปรุงล่าสุด : 22 ก.ค. 2557 / เข้าชม 6135 ครั้ง