
กรมสอบสวนคดีพิเศษ
ข้อมูลพื้นฐาน
ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน สอบสวนและดำเนินคดีพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความเป็นธรรม
“เป็นองค์การหลักในการบังคับใช้กฎหมายกับอาชญากรรมพิเศษตามมาตรฐานสากล” โดยกำหนดความหมายของวิสัยทัศน์ ดังนี้
การบังคับใช้กฎหมาย หมายถึง การใช้อำนาจการสืบสวนสอบสวนตามที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม
อาชญากรรมพิเศษ หมายถึง อาชญากรรมซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากอาชญากรรมพื้นฐาน เป็นอาชญากรรมที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องได้รับความสนใจเป็นกรณีพิเศษ โดยมีความละเอียดและซับซ้อน ยุ่งยาก และร้ายแรง อาทิ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (White Collar Crime) องค์กรอาชญากรรม (Organization Crime) อาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational Crime)
มาตรฐานสากล หมายถึง หลักเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นไปตามเกณฑ์ตัวชี้วัดหลักนิติธรรมขององค์การสหประชาชาติ (The United Nations Rule of Law Indicators) ประกอบด้วย หลักประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, หลักความเที่ยงตรง เป็นกลาง ความรับผิดชอบและความโปร่งใส, หลักการคุ้มครองบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิด และหลักศักยภาพ โดยมีการประเมินด้วยตัวชี้วัด (KPIs) จำนวน 7 ตัว ได้แก่
1) การบรรลุเป้าหมายและผลผลิต
2) ความเชื่อมั่นจากสังคม
3) การทำงานที่ยึดถือเป้าหมายและความรับผิดชอบร่วมกัน
4) ความโปร่งใส
5) ความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ
6) ความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล
7) ประสิทธิภาพในการบริหารงาน
ทั้งนี้ การดำเนินการตามมาตรฐานดังกล่าว อยู่บนหลักพื้นฐานของมาตรา 29 (ว่าด้วยการรับโทษทางอาญา)
และมาตรา 68 (ว่าด้วยสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง
รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร
นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์
นายมณฑล แก้วเก่า
พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล
ข้อมูลการติดต่อ
